วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2557

หมวด 8 การกำหนดสิทธิในที่ดินของคนต่างด้าว
Topมาตรา 86 คนต่างด้าวจะได้มาซึ่งที่ดินก็โดยอาศัยบทสนธิสัญญา ซึ่งบัญญัติให้มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ได้ และอยู่ในบังคับบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ด้วย
ภายใต้บังคับ มาตรา 84 คนต่างด้าวดั่งกล่าวจะได้มาซึ่งที่ดินเพื่อ ใช้เป็นที่อยู่อาศัยประกอบกิจการในทางพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การสุสาน การกุศลสาธารณะ หรือการศาสนาต้องเป็น ไปตามเงื่อนไข และวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวง และต้องได้รับ อนุญาตจากรัฐมนตรี
Topมาตรา 87 จำนวนที่ดินที่จะพึงอนุญาตให้ตามความในมาตราก่อน มีกำหนดดังนี้
(1) ที่อยู่อาศัย ครอบครัวละไม่เกิน 1 ไร่
(2) ที่ใช้เพื่อพาณิชยกรรม ไม่เกิน 1 ไร่
(3) ที่ใช้เพื่ออุตสาหกรรม ไม่เกิน 10 ไร่
(4) ที่ใช้เพื่อเกษตรกรรม ครอบครัวละไม่เกิน 10 ไร่
(5) ที่ใช้เพื่อการศาสนา ไม่เกิน 1 ไร่
(6) ที่ใช้เพื่อการกุศลสาธารณะ ไม่เกิน 5 ไร่
(7) ที่ใช้เพื่อการสุสาน ตระกูลละไม่เกิน 1/2 ไร่
มาตรา 89 เมื่อคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อ กิจการใด ผู้รับอนุญาตต้องใช้ที่ดินเพื่อกิจกานนั้น จะใช้เพื่อกิจการอื่น ไม่ได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ใช้เพื่อกิจการอื่นใหม่ ตามจำนวนที่ ไม่เกินกำหนดใน มาตรา 87 ถ้าจะไม่ใช้ที่ดินตามที่ได้รับอนุญาตนั้น ต้องแจ้งให้ทราบตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงภายใน กำหนดสามสิบวันนับแต่วันไม่ใช้ที่ดินนั้น
คนต่างด้าวผู้ใดประสงค์จะใช้ที่ดินเพื่อกิจการอื่นใหม่ ให้ขออนุญาต ใหม่ต่อรัฐมนตรีตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้า รัฐมนตรีเห็นสมควรก็ให้มีอำนาจอนุญาต
มาตรา 94 บรรดาที่ดินที่คนต่างด้าวได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ได้รับอนุญาต ให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายภายในเวลาที่ อธิบดีกำหนดให้ ซึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปี ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีมีอำนาจจำหน่าย ที่ดินนั้น และให้นำบทบัญญัติเรื่องการบังคับจำหน่ายที่ดินตามความ ในหมวด3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
Topมาตรา 95 ผู้ใดได้มาซึ่งที่ดินในขณะที่มีสัญชาติไทย ถ้าภายหลัง ผู้นั้นเปลี่ยนสัญชาติเป็นคนต่างด้าวให้คงมีสิทธิถือที่ดิน ได้เท่าที่ คนต่างด้าวนั้นจะพึงมี นอกจากนั้นให้ทำการจำหน่ายและให้นำบท บัญญัติ มาตรา 94 มาใช้บังคับอนุโลม
Topมาตรา 96 เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้มาซึ่งที่ดินแห่งใดในฐานะเป็น เจ้าของแทนคนต่างด้าวหรือนิติบุคคลตามความใน มาตรา 97 มาตรา 98 ให้อธิบดีมีอำนาจทำการจำหน่ายที่ดินนั้น และ ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 94 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 กลับไปที่หน้าสารบาญหมวด 9 การกำหนดสิทธิในที่ดินของนิติบุคคลบางประเภท
Topมาตรา 97 นิติบุคคลดั่งต่อไปนี้ให้มีสิทธิในที่ดินได้เสมือนกับคนต่างด้าว
(1) บริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่มีหุ้นอันเป็นทุนจดทะเบียน ถือโดยคนต่างด้าวเกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้าของทุนจดทะเบียน หรือผู้ถือหุ้นเป็นคนต่างด้าวเกินกว่ากึ่งจำนวนผู้ถือหุ้น แล้วแต่กรณี
เพื่อประโยชน์แห่งหมวดนี้บริษัทจำกัดใดออกใบหุ้นชนิดออก ให้แก่ผู้ถือให้ถือว่าใบหุ้นนั้นคนต่างด้าวเป็นผู้ถือ
(2) ห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนแล้ว
ที่มีคนต่างด้าวลงหุ้นมีมูลค่าเกินกว่าร้อยละสี่สิบเก้าของทุนทั้งหมด หรือผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นคนต่างด้าวเกินกว่ากึ่งจำนวนของผู้เป็นหุ้นส่วน แล้วแต่กรณี
(3) สมาคมรวมทั้งสหกรณ์ที่มีสมาชิกเป็นคนต่างด้าว เกินกว่ากึ่ง จำนวนหรือดำเนินการเพื่อประโยชน์คนต่างด้าวโดยเฉพาะ หรือเป็นส่วนใหญ่
(4) มูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์คนต่างด้าวโดยเฉพาะ หรือเป็นส่วนใหญ่
(5) (ถูกยกเลิกทั้งหมด)
หมายเหตุอ่านมาตรา 97 (1),(2) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.ที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2535
มาตรา 97 (5) ยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 49 ลงวันที่ 13 มกราคม พ.ศ.2502
Topมาตรา 98 ในกรณีที่นิติบุคคลที่ระบุไว้ใน มาตรา 97 เข้าถือหุ้น หรือลงหุ้นแล้วแต่กรณีในนิติบุคคลอื่นตามนัยที่กล่าวใน มาตรา 97 ให้ถือว่านิติบุคคลอื่นนั้นเป็นคนต่างด้าว
หมายเหตุอ่านมาตรา 98 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.ที่ดิน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2535
Topมาตรา 99 ในกรณีที่นิติบุคคลตาม มาตรา 97 หรือ มาตรา 98 จะได้มาหรือต้องจำหน่ายไปซึ่งสิทธิในที่ดิน ให้นำบทบัญญัติใน หมวด 8 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้นิติบุคคลดังกล่าวมีหน้าที่และความรับผิดเช่นเดียวกับที่กำหนดไว้ สำหรับคนต่างด้าวและบุคคลทั่วไป
หมายเหตุอ่านมาตรา 99 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพรบ.แก้ไขเพิ่มเติมป.ที่ดิน (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2551
Topมาตรา 100 นิติบุคคลใดได้มาซึ่งที่ดินในขณะที่ไม่ต้องด้วย บัญญัติของ มาตรา 97 และ มาตรา 98ถ้าภายหลังมีสภาพต้องด้วย บทบัญญัติใน มาตรา 97 หรือ มาตรา 98 ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 95 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Translate